คณะวิทยาศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม

Faculty of Science, Energy and Environment

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง

|

SciEE Innovation Hub


SciEE Innovation and Technology Centers

ด้วยคณะวิทยาศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม มีวิสัยทัศน์ (ระยะสั้น) คือ “สร้างชื่อเสียงทางฝั่งตะวันออกในด้านการผลิตบัณฑิต บริการวิชาการ สร้างสรรค์งานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม” ทางคณะมีนโยบายและกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนเกี่ยวกับด้านการบริการหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมไปถึงชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยงานบริการวิชาการของคณะจะมุ่งเน้นตามความถนัดของส่วนงาน คือ ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน พลังงานและสิ่งแวดล้อม และต้องสามารถบูรณาการกับการเรียนการสอน การวิจัย ร่วมกับการพัฒนานักศึกษาไปพร้อมๆ กัน สำหรับแนวทางการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการให้บริการวิชาการแก่สังคม ทางคณะได้มีการจัดทำแผนการบริการวิชาการประจำปีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยการบริการวิชาการจากทางคณะสามารถแบ่งเป็นประเภทหลักๆ ได้ดังนี้

จากการดำเนินงานที่ผ่านมาทางคณะสามารถจัดสร้างศูนย์การเรียนรู้สำหรับใช้เป็นแหล่งข้อมูลและเป็นสถานที่สำหรับถ่ายทอดความรู้เพื่อให้บริการแก่สังคม จำนวน 5 ส่วน ดังต่อไปนี้

1. ศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทน SciEE Learning Center

ความเป็นมาของโครงการ SciEE Learning Center มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีโครงการสนับสนุนแผนส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) กลยุทธ์หนึ่งของการผลักดันให้แผนดังกล่าวประสบความสำเร็จคือ การรณรงค์ลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน คณะวิทยาศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม มจพ. วิทยาเขตระยอง ตระหนักถึงความสำคัญประการนี้เป็นอย่างมาก จึงมีความต้องการในการนำความรู้ทางวิชาการมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแหล่งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุลและก้าวหน้าอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานที่กำลังเข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของประชากรไทย

เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจจำนวนมากมีฐานการผลิตในพื้นที่แถบภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (Eastern Seaboard) อัตราการใช้พลังงานจึงเพิ่มขึ้นในทุกสาขา จากอัตราการใช้พลังงานที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วนำไปสู่การกำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก (จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด) ช่วงปีพ.ศ. 2557 - 2560 ซึ่งได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่เน้นการสร้างแหล่งพลังงานเพื่อให้ภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานในระดับสากล (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5) ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดของกระทรวงพลังงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายใน 10 ปี (พ.ศ.2555-2564) จะต้องมีการใช้พลังงานทดแทน 25% ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมดเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาพลังงานทดแทน แต่ข้อมูลทางสถิติของกระทรวงพลังงานแสดงให้เห็นว่าปัจจุบันมีการใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือกเพียง 8.3% เท่านั้น (ศูนย์สารสนเทศข้อมูลพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน, 2557) อุปสรรคหลักอย่างหนึ่งสำหรับการพัฒนานี้คือประชาชนขาดความรู้พื้นฐานและความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตพลังานทดแทนทำให้ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และมีการนำพลังงานทดแทนไปใช้เพียงบางกลุ่มเท่านั้น ประเด็นสำคัญที่สุดคือ ประชาชนและเยาวชนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นภาพการนำพลังงานทดแทนมาใช้ได้จริงในกิจกรรมประจำวัน

ทั้งนี้คณะวิทยาศาสตร์ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง มีความประสงค์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาด้านพลังงาน โดยการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานที่กำลังเข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของประชากรไทย เพราะพันธกิจด้านการบริการวิชาการให้แก่สังคมและชุมชนเป็นพันธกิจหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่คณะวิทยาศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม มจพ. วิทยาเขตระยอง นอกจากนี้โครงการฝึกอบรมเยาวชนและการให้ความรู้แก่ประชาชนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมยังสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตบัณฑิต กลยุทธ์ที่ 7 พัฒนาทุกกระบวนการที่ส่งผลให้เกิดคุณภาพบัณฑิตที่พึงประสงค์ รวมทั้งช่วยพัฒนาทักษะทางการสอนของบุคลากรของมหาวิทยาลัยอีกด้วย

คณะวิทยาศาสตร์ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนามหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ทั้งเงินงบปรมาณแผ่นดินและเงินรายได้ เพื่อจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงาน สำหรับเป็นหน่วยงานที่ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานแก่ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ตะวันออก

 
 

 

2. แหล่งเรียนรู้พลังงานจากแสงอาทิตย์ Solar Rooftop

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง มีนโยบายการกำหนดเป้าหมายที่จะใช้พลังงานทดแทนเข้ามาใช้ร่วมกับแหล่งพลังงานหลักสาธารณะ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี ของกระทรวงพลังงาน โดย มจพ. วิทยาเขตระยองได้รับเงินสนับสนุนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ดำเนินการก่อสร้างแหล่งผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับระบบไฟฟ้าภายในวิทยาเขต โดยมอบหมายให้คณะได้ดำเนินการ ดูแล และบำรุงรักษาระบบสถานีไฟฟ้าในหน่วยงานราชการจากแสงอาทิตย์ (Campus power) อย่างต่อเนื่อง เพื่อทำการผลิตกระแสไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 150 kW ซึ่งสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบปกติของมหาวิทยาลัย และยังเป็นพลังงานไฟฟ้าสำรองในช่วงที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูง เช่น เดือนเมษายน และใช้ให้แสงสว่างบริเวณโดยรอบวิทยาเขต เช่น ต้นไม้เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้เป็นอุปกรณ์ส่องสว่างหน้ารั้วมหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ คณะได้รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับสถานีรถประจำทาง เป็นระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์แบบอิสระ ซึ่งถูกใช้เป็นพื้นที่ส่องสว่างภายในมหาวิทยาลัยเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่นักศึกษา ยิ่งไปกว่านั้นทางคณะวิทยาศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้ติดตั้ง Solar Rooftop ไว้ที่ดาดฟ้าของตัวอาคาร และมีระบบการจัดการพลังงานภายในอาคาร (The building energy management system) หรือที่เรียกว่าระบบ “BEMs” เป็นระบบที่รับข้อมูลเพื่อประมวลผลและควบคุมประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานในอาคาร เช่น ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) ระบบชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging) เป็นต้น ขีดความสามารถของ BEMS จะขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของระบบ ในบางระบบจะสามารถวิเคราะห์หาจุดที่เหมาะสมที่สุด (Optimization) ในการทำงานร่วมกันระหว่างระบบต่าง ๆ ได้ตามเป้าหมายที่ผู้ใช้กำหนด

 

3. ศูนย์การเรียนรู้และระบบการจัดการขยะแบบผสมผสาน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง มีบุคลากรและนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษามากกว่า 5,000 คน ส่งผลให้มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มากกว่า 1,000 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งสามารถแบ่งตามวีการจัดการขยะที่เหมาะสมได้ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และขยะที่เผาไหม้ได้ เพื่อให้เกิดการจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัยให้มีความยั่งยืน และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) วิทยาเขตจึงมีแนวทางจัดการขยะภายใต้แนวคิด “Zero Waste Today, Green Campus Tomorrow ขยะเป็นศูนย์ เริ่มต้นที่เมือเรา” โดยส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ และการลดปริมาณของเสียให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ตามหลักการ 3Rs คือ การลดใช้ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการรีไซเคิล (Recycle) จึงได้สร้างระบบต้นแบบการจัดการขยะแบบผสมผสาน (Integrated Solid Waste Management) ขึ้น ได้แก่

โดยบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่พัฒนาโดยบุคลากรภายในวิทยาเขต และมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษาและชุมชน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน

 
 

 

4. ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม จ.ระยอง (Agritech and Innovation Center : AIC)

การจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AlC) เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเกษตร 4.0 เป้าหมายสำคัญของศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AlC) ประจำจังหวัดระยอง คือ การเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตร นวัตกรรมเพื่อการเกษตร เกษตรอัจฉริยะ และพลังงานทางเลือกเพื่อการเกษตร ที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรในจังหวัด ส่งผลให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AlC) จังหวัดระยอง
ตั้งอยู่ ณ ศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ชั้น 3
คณะวิทยาศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม มจพ.วิทยาเขตระยอง

เกษตรกรและผู้สนใจสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิดาพร เสียงวัฒนะ
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม จ.ระยอง
โทรศัพท์ 038 627000 ต่อ 5400

 

5. ศูนย์เครื่องมือและทดสอบวิเคราะห์ คณะวิทยาศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม (Scientific Instrument and Analytical Testing Center, SIATC)

เนื่องด้วยจังหวัดระยองเป็นจังหวัดที่มีภาคอุตสาหกรรมหลากหลายอุตสาหกรรม และภาคการเกษตรทั้งการปลูกพืช ผลไม้ และการทำประมง ดังนั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจึงจำเป็นต้องใช้วิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการประกอบธุรกิจทั้งภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม คณะวิทยาศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง เป็นคณะที่มีเครื่องมือและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและห้องปฏิบัติการที่ปลอดภัยต่อการปฏิบัติการ คณะฯ จึงเปิดให้บริการวิชาการในส่วนของการทดสอบวิเคราะห์ตัวอย่าง อาทิ ดิน น้ำ อากาศ ปุ๋ย น้ำมัน และ การวิเคราะห์โลหะหนัก เป็นต้น เพื่อช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมให้มีการนำวิทยาศาสตร์ องค์ความรู้ ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่สามารถวิเคราะห์ได้ ไปประยุกต์ใช้ทำให้เกิดการพัฒนาในธุรกิจและอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

หน่วยงานที่สนใจเข้าเยี่ยมชมสามารถติดต่อมาที่ 038 – 627000 ต่อ 5400