กลุ่มงานวิจัย
กลุ่มวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์
Material Science
งานวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์ ภายในคณะวิทยาศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วยงานวิจัยเชิงทฤษฎีและการทดลองซึ่งมีความหลากหลายในด้านต่างๆ สามารถใช้งานในเชิงปฏิบัติได้จริง ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาเกี่ยวกับตัวนำยิ่งยวด การออกแบบวัสดุสำหรับกักเก็บพลังงาน ตัวเร่งปฏิกิริยา สารกึ่งตัวนำ วัสดุเทอร์โมอิเล็กตริก วัสดุเพียโซอิเล็กทริก วัสดุไทรโบอิเล็กทริก วัสดุเรืองแสง และอุปกรณ์ในการเปลี่ยนรูปพลังงานต่าง ๆ ได้แก่ เซลล์เชื้อเพลิง เซลล์แสงอาทิตย์ เซลล์โฟโตอิเล็กโทรเคมิคอล แหล่งกำเนิดพลังงานขนาดเล็กเพียโซอิเล็กทริก-ไทรโบอิเล็กทริก และแบตเตอรี โดยมีนักวิจัยในกลุ่มดังนี้
รายชื่อนักวิจัย
ผลงานวิจัยในกลุ่ม
ศึกษาวิจัยการสังเคราะห์วัสดุต้นทุนต่ำ ประสิทธิภาพสูง และความทนทานเป็นเลิศสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ออกซิเจน ด้วยเทคโนโลยีอิเล็กโตรลิสิส และเทคโนโนโลยีโฟโตอิเล็กโตรลิสิส นอกจากนี้ยังคิดค้นนวัตกรรมสำหรับการสังเคราะห์วัสดุในระดับ 0D 1D 2D และ 3D เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขั้วไฟฟ้าสำหรับการผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง และการกักเก็บพลังงานไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีซุปเปอร์คาปาซิเตอร์ (Super capacitor) เทคโนโลยีรีด็อกซ์โฟแบตเตอรี่ เทคโนโลยีแบตเตอรี่โลหะ - อากาศ
ได้ศึกษากระบวนการสังเคราะห์วัสดุนาโนฟังก์ชันนอลที่มีคุณสมบัติเด่นทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์คุณลักษณะทางวัสดุขั้นสูง และนำมาสร้างเป็นเซนเซอร์/อุปกรณ์เก็บเกี่ยวพลังงานอุบัติใหม่ เพื่อเก็บเกี่ยวพลังงานตามธรรมชาติ เช่น พลังงานกล พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น
สังเคราะห์วัสดุขนาดนาโนเมตร เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น วัสดุนาโนสำหรับการเก็บเกี่ยวพลังงานในเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง และเซลล์แสงอาทิตย์แบบอื่นๆ ,วัสดุนาโนสำหรับตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการโฟโตแคตตาไลติก สำหรับการบำบัดสีย้อม และสารปนเปื้อนต่างๆ ในน้ำเสีย
อ.ดร. ภาณุวัฒน์ เอกธรรมสุทธิ์ ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ที่ใช้งานในสภาวะอุณหภูมิต่ำ และใช้เชื้อเพลิงเป็นแอลกอฮอล์เหลว เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและเป็นแหล่งพลังงานสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก โดยงานวิจัยมุ่งเน้นการปรับปรุงการขึ้นรูปขั้วอิเล็กโทรด การพัฒนาโครงสร้าง และการหาสภาวะการใช้งานเซลล์ที่เหมาะสม
บทความตีพิมพ์
S. Shanmugam, K. Ketpang, Md. A. Aziz, K. Oh, K. Lee, B. Son, and N. Chanunpanich, Composite polymer electrolyte membrane decorated with porous titanium oxide nanotubes for fuel cell operating under low relative humidity, Electrochimica Acta, 384 (2021) 138407
S. Wanapop, A. Somdee, Enhanced visible light absorption of TiO2 nanorod photoanode by NiTiO3 decoration for high-performance photoelectrochemical cells, Ceramics International, 46(14) (2020), 25758-25765.
S. Sattayaporn, P. Loiseau, G. Aka, S. Klimin, K. Boldyrev, B. Mavrin, “Fine spectroscopic study of Pr3+: Sr0.7La0.3Mg0.3Al11.7O19 (Pr:ASL)”, Journal of Luminescence, 219 (2020) 116895.
T. Suwannasit, Joesphson current in silicone-based SBS josephson junction: Effect of perpendicular electric field, Journal of Physics: Conference Series, 1380 (2019) 012103.
S. Sriphan, T. Charoonsuk, T. Maluangnont, P. Pakawanit, C. Rojviriya, and N. Vittayakorn , “Multifunctional nanomaterials modification of cellulose paper for efficient triboelectric nanogenerators,” Advanced Materials Technologies 5 (2020) p. 2000001.
E. Panuwat, “Performance and Ethanol Crossover of Passive Direct Ethanol Fuel Cell Stack”, E3S Web of Conferences, 141 (2020), 01008.
S. Wannapop, A. Somdee, T. Thongtem, S. Thongtem, Synthesis of ZnO nanostructures by microwave irradiation for energy conversion material for dye sensitized solar cells and materials for photocatalytic dye degradation, journal of the ceramic society of japan, 127(6), (2019), 428-434.
A. Chanhom, J. Nukeaw, The effect of substrates temperature on pentacene thin films prepared by organic thermal evaporator, 2007 7th IEEE conference on nanotechnology (IEEE NANO).
P. Tapsanit, Theoretically comparative study of spectrally selective solar absorbers in concentrated solar-thermoelectric generators working at high temperature, Applied Optics 60(18), (2021), 5291-5301
P. Jaiban, M. Tongtham, P. Wannasut, A. Watcharapasorn, Dielectric response on ultraviolet light irradiation of Ba0.85Ca0.15Zr0.1Ti0.9O3 based ceramics, Materials Letters, 243 (2019) 169-172.