คณะวิทยาศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม

Faculty of Science, Energy and Environment

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง

|

หลักสูตรปริญญาโท เทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ (METAM) (2567)


 METAM

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567

  1. รหัสและชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ

ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Energy Technology and Management

  1. ชื่อปริญญา

ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ)

(ชื่อย่อ) : วท.ม. (เทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ)

ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) : Master of Science (Energy Technology and Management)

(ชื่อย่อ) : M.Sc. (Energy Technology and Management)

  1. วัตถุประสงค์

1)  เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ทั้งทางด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติและมีความพร้อมในการประกอบอาชีพทางด้านเทคโนโลยีพลังงานและการจัดการพลังงาน

2)  เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถวิเคราะห์ ประยุกต์ พัฒนา เทคโนโลยีทางด้านพลังงานและการจัดการที่เหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศแบบสมดุลและยั่งยืนตามมาตรฐานสากล

3)  เพื่อส่งเสริมงานวิจัยและการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ

4)  เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณของวิชาชีพ มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

  1. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1แผน 1 แบบวิชาการ แบบ ก 1

       เป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวุฒิการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หรือวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) จากสถาบันอุดมศึกษาที่สานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรองและได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 ในสาขาวิชาเคมี เคมีอุตสาหกรรม เคมีเทคนิค วิศวกรรมเคมี ฟิสิกส์ ฟิสิกส์ประยุกต์ เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี วัสดุศาสตร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมปิโตรเลียม วิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมพลังงาน วิทยาศาสตร์พลังงาน เทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ กระบวนการอุตสาหกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (อุตสาหกรรม, วิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) หรือเทียบเท่า และผ่านความเห็นชอบจากคณะ
        ในกรณีที่ผู้สมัครไม่ได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 ในสาขาวิชาเคมี เคมีอุตสาหกรรม เคมีเทคนิค วิศวกรรมเคมี ฟิสิกส์ ฟิสิกส์ประยุกต์ เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี วัสดุศาสตร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมปิโตรเลียม วิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมพลังงาน วิทยาศาสตร์พลังงาน เทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ กระบวนการอุตสาหกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) หรือเทียบเท่า ผู้สมัครเข้าศึกษาต้องเป็นผู้มีประสบการณ์การทางานในเชิงวิจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยีพลังงาน หรือการจัดการพลังงานไม่น้อยกว่า 2 ปี และผ่านความเห็นชอบจากคณะ

2แผน 1 แบบวิชาการ แบบ 1 ข

    เป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวุฒิการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หรือวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) จากสถาบันอุดมศึกษาที่สานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง ในสาขาวิชาเคมี เคมีอุตสาหกรรม เคมีเทคนิค วิศวกรรมเคมี ฟิสิกส์ ฟิสิกส์ประยุกต์ เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี วัสดุศาสตร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมปิโตรเลียม วิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมพลังงาน วิทยาศาสตร์พลังงาน เทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ กระบวนการอุตสาหกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) หรือเทียบเท่า และผ่านความเห็นชอบจากคณะ

3) แผน 2 แบบวิชาชีพ

     เป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวุฒิการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หรือวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) จากสถาบันอุดมศึกษาที่สานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง ในสาขาวิชาเคมี เคมีอุตสาหกรรม เคมีเทคนิค วิศวกรรมเคมี ฟิสิกส์ ฟิสิกส์ประยุกต์ เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี วัสดุศาสตร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมปิโตรเลียม วิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมพลังงาน วิทยาศาสตร์พลังงาน เทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ กระบวนการอุตสาหกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) หรือเทียบเท่า และผ่านความเห็นชอบจากคณะ

  1. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจากสำเร็จการศึกษา

1 นักวิชาการ/นักวิทยาศาสตร์ ด้านพลังงานและการจัดการพลังงาน
2 นักวิจัยและนักพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ
3 นักวิเคราะห์ระบบพลังงานในภาคอุตสาหกรรม
4 ผู้ตรวจสอบและรับผิดชอบระบบพลังงานในภาคอุตสาหกรรม
5 ผู้ประกอบการด้านพลังงานและการจัดการ
6 อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับพลังงานและการจัดการพลังงาน

  1. ค่าธรรมเนียม (METAM) ปกติ

ทุกแผนการเรียน 

- ค่าพัฒนาวิชาการ (ภาคการศึกษาละ) จำนวน 15,000 บาท

- ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ (แรกเข้า) จำนวน 1,000 บาท

- ค่าประกันทรัพย์สินเสียหาย (แรกเข้า) จำนวน 1,000 บาท

- ค่าประกันอุบัติเหตุ (ปีละ) จำนวน 250 บาท

- ค่าบำรุงกิจกรรมนักศึกษา (ภาคการศึกษาละ) จำนวน 450 บาท

- ค่าบำรุงการศึกษา (ภาคการศึกษาละ) จำนวน 1,400 บาท

- ค่าบำรุงห้องสมุด (ภาคการศึกษาละ) จำนวน 500 บาท

- ค่าบำรุงระบบสารสนเทศ (ภาคการศึกษาละ) จำนวน 900 บาท

- ค่าลงทะเบียนรายวิชาประจำภาคเรียนวิชาทฤษฎี หน่วยกิตละ 300 บาท

- ค่าลงทะเบียนรายวิชาประจำภาคเรียนวิชาปฏิบัติ หน่วยกิตละ 500 บาท

- ค่าลงทะเบียนรายวิชาประจำภาคเรียนวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ หน่วยกิตละ 900 บาท

  1. ค่าธรรมเนียม (S–METAM) ภาคสมทบพิเศษ

ทุกแผนการเรียน 

เงินอุดหนุนการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ (ภาคการศึกษาละ) จำนวน 45,000 บาท

  1. สถานที่จัดการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง

  1. วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

หลักสูตรปกติ

ในเวลาราชการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9.00 – 16.00 น.

หลักสูตรสมทบพิเศษ

นอกเวลาราชการ วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น.

  1. โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต ใช้ระยะเวลาเรียน 2 ปี

 

 

หลักสูตรเปิดสอน