กลุ่มงานวิจัย
กลุ่มวิจัยด้านเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และจุลชีววิทยา
Agriculture Biotechnology Microbiology
กลุ่มวิจัยด้านเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และจุลชีววิทยา เป็นกลุ่มวิจัยที่ดำเนินการวิจัยทั้งในระดับวิทยาศาสตร์ชีวภาพพื้นฐานและระดับวิทยาศาสตร์ชีวภาพประยุกต์ โดยสอดคล้องกับอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ (First s-curve) กลุ่มการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) และอุตสาหกรรมใหม่ (New S-curve) กลุ่มอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) ซึ่งสนับสนุนให้ประเทศไทยมุ่งสู่เศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bioeconomy) รวมถึงมีความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ
จุดเด่นของกลุ่มวิจัย คือ การบูรณาการศาสตร์ในกลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพเพื่อแก้ปัญหาโจทย์วิจัย ยกระดับคุณภาพการผลิต และบริการวิชาการให้แก่กลุ่มเกษตรกร หน่วยงานราชการ และสถานประกอบการ เช่น การระบุชนิดจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในพืชเศรษฐกิจ การวิเคราะห์คุณภาพน้ำประปาทางจุลชีววิทยา การแยกและเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็ก การถ่ายทอดองค์ความรู้และยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์จากผึ้งชันโรง เป็นต้น
ความเชี่ยวชาญของกลุ่มวิจัย ได้แก่ การแยกและระบุชนิดจุลินทรีย์จากตัวอย่างสิ่งแวดล้อม การแยกและเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็ก แมลงเศรษฐกิจ
รายชื่อนักวิจัย
Assoc.Prof.Dr. Aiya Chantarasiri
aiya.c@sciee.kmutnb.ac.th
การแยกและระบุชนิดจุลินทรีย์จากตัวอย่างสิ่งแวดล้อม
Asst.Prof. Parima Boontanom
parima.b@sciee.kmutnb.ac.th
การแยกและระบุชนิดจุลินทรีย์จากตัวอย่างสิ่งแวดล้อม
Sunisa Ungwiwatkul
sunisa.b@sciee.kmutnb.ac.th
การแยกและเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็ก
ผลงานวิจัยในกลุ่ม
บทความตีพิมพ์
Chantarasiri, A. (2021). Diversity and activity of aquatic cellulolytic bacteria isolated from sedimentary water in the littoral zone of Tonle Sap Lake, Cambodia. Water. 13(13): 1797. (Web of Science, Scopus Q1)
Straub, L., Villamar‐Bouza, L., Bruckner, S., Chantawannakul, P., Kolari, E., Maitip, J., Vidondo, B., Neumann, P. & Williams, G.R. (2021). Negative effects of neonicotinoids on male honeybee survival, behaviour, and physiology in the field. Journal of Applied Ecology. 00: 1-14. (Web of Science, Scopus Q1)