หลักสูตรวิทยาการข้อมูลและการคำนวณเชิงธุรกิจและอุตสาหกรรม (DSCBI)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการคำนวณเชิงธุรกิจและอุตสาหกรรม
(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565)
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการคำนวณเชิงธุรกิจและอุตสาหกรรม
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Data Science and Computation for Business and Industry
2. ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการข้อมูลและการคำนวณเชิงธุรกิจและอุตสาหกรรม)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. (วิทยาการข้อมูลและการคำนวณเชิงธุรกิจและอุตสาหกรรม)
ชื่อเต็ม(ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Data Science and Computation for Business and Industry)
ชื่อย่อ(ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Data Science and Computation for Business and Industry)
3. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
(1) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ให้มีความพร้อมในการประกอบอาชีพทางด้านวิทยาการข้อมูลและการคำนวณเชิงธุรกิจและอุตสาหกรรมในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล
(2) เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์องค์ความรู้ และเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลและเครื่องมือการคำนวณเชิงธุรกิจและอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม
(3) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการสื่อสารและการนำเสนอผลงานได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
(4) เพื่อสร้างบุคลากรที่มีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) ทางด้านวิทยาการข้อมูลและการคำนวณเชิงธุรกิจและอุตสาหกรรม
(5) เพื่อผลิตบัณฑิตที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัย รู้เท่าทัน มีความรับผิดชอบ
มีคุณธรรม จริยธรรม ต่อชุมชุน สังคม และประเทศชาติ
4. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
(1) สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี หรือผ่านรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี รวมกันไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต หรือเทียบเท่า
(2) สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาด้านอุตสาหกรรม
พาณิชยกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเทียบสาขาวิชาที่เทียบเท่ากันได้จากสถาบันการศึกษาซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง
(3) การคัดเลือกนักศึกษาเข้ารับการศึกษาผ่านการสอบแข่งขันแบบสอบตรง ระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS) และการคัดเลือกผ่านระบบโควตา
5. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจากสำเร็จการศึกษา
(1) นักวิทยาการข้อมูล วิศวกรข้อมูล นักวิเคราะห์สถิติ
(2) นักวิเคราะห์สำหรับอุตสาหกรรมประกันภัย
(3) ผู้เชี่ยวชาญข้อมูลเชิงธุรกิจ
(4) นักวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับองค์กรบริหาร
(5) เจ้าหน้าที่วางแผนการผลิต
(6) เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์โลจิสติกส์และซับพลายเชน
(7) นักวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับองค์กรสาธารณสุข
(8) บุคลากรด้านการศึกษา/วิชาการ
(9) อาชีพอิสระ
6. แนวทางการศึกษาต่อ
นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจะมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ในสาขาที่เกี่ยวข้องในสถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
7. ค่าธรรมเนียม
- ค่าบำรุงการศึกษาหลักสูตรภาคปกติ เหมาจ่ายต่อภาคการศึกษา จำนวน 19,000 บาท
- ค่าบำรุงการศึกษาหลักสูตรภาคสมบทพิเศษ เหมาจ่ายต่อภาคการศึกษา จำนวน29,000 บาท
- ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ (แรกเข้า) จำนวน 1,000 บาท
- ค่าประกันทรัพย์สินเสียหาย (แรกเข้า) จำนวน 1,000 บาท
- ค่าทำบัตรนักศึกษาใหม่ (แรกเข้า) จำนวน 200 บาท
- ค่าปฐมนิเทศและอบรมจริยธรรมนักศึกษาใหม่ (แรกข้า) จำนวน 500 บาท
- ค่าประกันอุบัติเหตุ (ปีละ) จำนวน 250 บาท
รวมค่าใช้จ่ายหลักสูตรโครงการปกติ ตลอดหลักสูตร จำนวน 154,950 บาท
รวมค่าใช้จ่ายหลักสูตรโครงการสมทบพิเศษ ตลอดหลักสูตร จำนวน 263,950 บาท
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง
9. วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ภาคการศึกษาต้น เดือนมิถุนายน - เดือนกันยายน
ภาคการศึกษาปลาย เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์
ภาคฤดูร้อน เดือนเมษายน - เดือนพฤษภาคม
10. โครงสร้างหลักสูตร
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการคำนวณเชิงธุรกิจและอุตสาหกรรม เปิดสอนทั้งโครงการปกติและโครงการสหกิจศึกษา โดยทั้ง 2 โครงการ มีจำนวนหน่วยกิตทั้งหมด 136 หน่วยกิต ใช้ระยะเวลาเรียน 4 ปี