คณะวิทยาศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม

Faculty of Science, Energy and Environment

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง

|

กลุ่มงานวิจัย


กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีเชื้อเพลิงสีเขียวและการเร่งปฏิกิริยา

Green fuel technologies and catalysis

กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงสีเขียวและการเร่งปฏิกิริยา มุ่งเน้นการวิจัยเพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวล ได้แก่ เศษวัสดุทางการเกษตร วัสดุเหลือทิ้งจากชุมชนและอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยอาศัยเทคโนโลยีที่สำคัญ 2 เทคโนโลยีคือ กระบวนการเปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมีโดยวิธีเคมีชีวภาพ (Biochemical conversion process) เพื่อผลิตแก๊สชีวภาพ และไบโอเอทานอล โดยอาศัยการทำงานของจุลชีพ และกระบวนการเปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมีโดยวิธีเคมีความร้อน (Themochemical conversion process) ซึ่งยังจำแนกออกได้เป็นหลายกระบวนการ เช่น การผลิตชีวมวลทอร์รีไฟด์ด้วยกระบวนการทอร์รีแฟคชั่น (Torrefaction) การผลิตน้ำมันชีวภาพด้วยกระบวนการไพโรไลซิส (Pyorolysis) การผลิตแก๊สสังเคราะห์ด้วยกระบวนการแก๊สสิฟิเคชั่น (Gasification) เป็นต้น ทางด้านการเร่งปฏิกิริยาเพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพนั้น ทางกลุ่มวิจัยมุ่งเน้นในการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาทั้งวิธีการเตรียมและการหาองค์ประกอบที่เหมาะสม โดยที่ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ได้จะถูกนำไปใช้ในการผลิตแก๊สสังเคราะห์ การผลิตเชื้อเพลิงเหลวด้วยกระบวนการฟิชเชอร์ทรอปซ์ (Fischer-Tropsch) ไบโอดีเซลและผลิตภัณฑ์ของเหลวอื่น ๆ รวมถึงการผลิตแก๊สไฮโดรเจนจากเทคโนโลยีอิเล็กโทรไลเซอร์ (Electrolyzer) และการนำแก๊สไฮโดรเจนมาใช้ในการผลิตพลังงานด้วยเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) และการกักเก็บพลังงานไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีซุปเปอร์คาปาซิเตอร์ (Super capacitor) เทคโนโลยีรีด็อกซ์โฟแบตเตอรี่ เทคโนโลยีแบตเตอรี่โลหะ – อากาศ


รายชื่อนักวิจัย

อ.ดร.เสาวลักษณ์ อินทรศิริ
Saowaluk Intarasiri

saowaluk.i@sciee.kmutnb.ac.th
การศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์สำหรับการสังเคราะห์เชื้อเพลิงเหลวด้วยกระบวนการฟิชเชอร์ทรอปซ์
ผศ.ดร.อัครสิงห์ บำเพ็ญรัตน์
Asst.Prof.Dr. Akarasingh Bampenrat

akarasingh.b@sciee.kmutnb.ac.th
ศึกษาการเปลี่ยนรูปชีวมวลไปเป็นเชื้อเพลิงโดยอาศัยกระบวนการการเปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมีโดยใช้ความร้อน เชื้อเพลิงที่ได้ ได้แก่ น้ำมันชีวภาพ ถ่านชาร์ ชีวมวลทอร์รีไฟด์ และแก๊สสังเคราะห์ รวมทั้งศึกษาการเผาไหม้ร่วมของเชื้อเพลิงชีวมวลกับถ่านหิน
อ.ดร.ภาณุวัฒน์ เอกธรรมสุทธิ์
Panuwat Ekdharmasuit

panuwat.e@sciee.kmutnb.ac.th
การศึกษาเทคโนโลยีอิเล็กโทรไลเซอร์ (Electrolyzer) เพื่อผลิตก๊าซไฮโดรเจน และเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากการป้อนแก๊สไฮโดรเจนหรือแอลกอฮอล์เหลวเป็นเชื้อเพลิง โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงการขึ้นรูปขั้วอิเล็กโทรด การพัฒนาโครงสร้าง และการหาสภาวะการใช้งานเซลล์ที่เหมาะสม
ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เกตุเพ็ง
Asst.Prof.Dr. Kriangsak Ketpang

kriangsak.k@sciee.kmutnb.ac.th
การสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาและวัสดุรองรับตัวเร่งปฏิกิริยาต้นทุนต่ำ ประสิทธิภาพสูง และความทนทานเป็นเลิศสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนและออกซิเจนด้วยเทคโนโลยีอิเล็กโตรไลสิส
อ.ดร.เมธิณ ใจเกื้อ
Mathin Jaikua

mathin.j@sciee.kmutnb.ac.th
การพัฒนาระบบที่ใช้สาหร่ายเพื่อการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพและการผลิตน้ำมันจากของเสียชีวมวล
ผศ.ดร.ธีรยา จรุงล้ำเลิศ
Asst.Prof.Dr. Teeraya Jarunglumlert

teeraya.j@sciee.kmutnb.ac.th
การศึกษาความคุ้มค่าทางพลังงานและความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ของการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกจากเศษวัสดุทางการเกษตร
ผศ.ดร.หัสนัยน์ สุขธัญญาวัฒน์
Asst.Prof.Dr. Hussanai Sukkathanyawat

hussanai.s@sciee.kmutnb.ac.th
Promoter Effect on the Physico-chemical Properties of Cobalt Based Catalyst for CO Hydrogenation

ผลงานวิจัยในกลุ่ม

Promoter Effect on the Physico-chemical Properties of Cobalt Based Catalyst for CO Hydrogenation

 อ.ดร.หัสนัยน์ สุขธัญญาวัฒน์

Promoter Effect on the Physico-chemical Properties of Cobalt Based Catalyst for CO Hydrogenation (Sukkathanyawat, H., Tungkamani, S., Phongaksorn, M., Narataruksa, P., Yoosuk, B. Energy Procedia , 2015, 79, pp. 372–377)

การพัฒนาระบบที่ใช้สาหร่ายเพื่อการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพและการผลิตน้ำมันจากของเสียชีวมวล

อ.ดร.เมธิณ ใจเกื้อ

การพัฒนาระบบที่ใช้สาหร่ายเพื่อการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพและการผลิตน้ำมันจากของเสียชีวมวล

(Jaikua M., Thongsan S., and Chaijamrus S. (2018). Development of a Microalgae based System for Biogas Upgrading and Oil Production from Waste Biomass. International Energy Journal, Vol. 18(3), pp. 231 – 242.)

การศึกษาความคุ้มค่าทางพลังงานและความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ของการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกจากเศษวัสดุทางการเกษตร

ผศ.ดร.ธีรยา จรุงล้ำเลิศ

          การศึกษาความคุ้มค่าทางพลังงานและความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ของการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกจากเศษวัสดุทางการเกษตร (Jarunglumlert,T.; Prommuak, C. Net Energy Analysis and Techno-Economic Assessment of Co-Production of Bioethanol and Biogas from Cellulosic Biomass. Fermentation2021,7,229)

การศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์สำหรับการสังเคราะห์เชื้อเพลิงเหลวด้วยกระบวนการฟิชเชอร์ทรอปซ์

อ.ดร.เสาวลักษณ์ อินทรศิริ

การศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์สำหรับการสังเคราะห์เชื้อเพลิงเหลวด้วยกระบวนการฟิชเชอร์ทรอปซ์

(Saowaluk I., Tanakorn R., Thana S., Sabaithip T., Monrudee)

P. Pore size effect of mesoporous support on metal particle size of Co/SiO2 catalyst in Fischer-Tropsch synthesis.International Journal of Advanced and Applied Sciences, 5(11) 2018, Pages: 80-85

การศึกษาเทคโนโลยีอิเล็กโทรไลเซอร์ (Electrolyzer) เพื่อผลิตก๊าซไฮโดรเจน และเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากการป้อนแก๊สไฮโดรเจนหรือแอลกอฮอล์เหลวเป็นเชื้อเพลิง โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงการขึ้นรูปขั้วอิเล็กโทรด การพัฒนาโครงสร้าง แ

อ.ดร.ภาณุวัฒน์ เอกธรรมสุทธิ์

การศึกษาเทคโนโลยีอิเล็กโทรไลเซอร์ (Electrolyzer) เพื่อผลิตก๊าซไฮโดรเจน และเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากการป้อนแก๊สไฮโดรเจนหรือแอลกอฮอล์เหลวเป็นเชื้อเพลิง โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงการขึ้นรูปขั้วอิเล็กโทรด การพัฒนาโครงสร้าง และการหาสภาวะการใช้งานเซลล์ที่เหมาะสม (E. Panuwat, “Performance and Ethanol Crossover of Passive Direct Ethanol Fuel Cell Stack”, E3S Web of Conferences, 141 (2020), 01008.)

การสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาและวัสดุรองรับตัวเร่งปฏิกิริยาต้นทุนต่ำ ประสิทธิภาพสูง และความทนทานเป็นเลิศสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนและออกซิเจนด้วยเทคโนโลยีอิเล็กโตรไลสิส

อ.ดร.เกรียงศักดิ์ เกตุเพ็ง

การสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาและวัสดุรองรับตัวเร่งปฏิกิริยาต้นทุนต่ำ ประสิทธิภาพสูง และความทนทานเป็นเลิศสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนและออกซิเจนด้วยเทคโนโลยีอิเล็กโตรไลสิส (K. Ketpang, J. Prathum, P. Juprasat, W. Junla, K. Wichianwat, A. Saejio, C. Poompipatpong, N. Chanunpanich, “Electrochemical Oxygen Reduction Reaction Performance of Water Hyacinth Derived Porous Non-precious Electrocatalyst in Alkaline Media” E3S Web Conferences 141, 01004 (2020))

ศึกษาการเปลี่ยนรูปชีวมวลไปเป็นเชื้อเพลิงโดยอาศัยกระบวนการการเปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมีโดยใช้ความร้อน เชื้อเพลิงที่ได้ ได้แก่ น้ำมันชีวภาพ ถ่านชาร์ ชีวมวลทอร์รีไฟด์ และแก๊สสังเคราะห์ รวมทั้งศึกษาการเผาไหม้ร่วมของเชื้อเพลิงชีวมวลกับถ่านหิน

อ.ดร.อัครสิงห์ บำเพ็ญรัตน์ 
ศึกษาการเปลี่ยนรูปชีวมวลไปเป็นเชื้อเพลิงโดยอาศัยกระบวนการการเปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมีโดยใช้ความร้อน เชื้อเพลิงที่ได้ ได้แก่ น้ำมันชีวภาพ ถ่านชาร์ ชีวมวลทอร์รีไฟด์ และแก๊สสังเคราะห์ รวมทั้งศึกษาการเผาไหม้ร่วมของเชื้อเพลิงชีวมวลกับถ่านหิน (A. Bampenrat, A. Boonkitkoson, T. Seangwattana, P. Suttiarporn, H. Sukkathanyawat, Kinetic analysis of durian rind pyrolysis using model-free method, 2020 IOP Conf. Ser.: Earth Environ. Sci., 586, (2020): 012002)