หลักสูตรปริญญาตรี เทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ (ETAM) (2567)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงานและการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร : 25570151100718
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงานและการจัดการธุรกิจ อุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Energy Technology and Industrial Business Management in Digital Era
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีพลังงานและการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรม ในยุคดิจิทัล)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. (เทคโนโลยีพลังงานและการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Energy Technology and Industrial Business Management in Digital Era)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Energy Technology and Industrial Business Management in Digital Era)
3. วิชาเอก มี จำนวน 2 แขนงวิชา ดังนี้
1) แขนงวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงานอุตสาหกรรม (Industrial Energy Management Technology)
2) แขนงวิชาเทคโนโลยีนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy Innovation Technology)
4. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ทั้งทางด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติและมีความพร้อม ในการประกอบอาชีพทางด้านเทคโนโลยีพลังงานและการจัดการพลังงานในธุรกิจอุตสาหกรรม
2) เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถวิเคราะห์ ประยุกต์ พัฒนาเทคโนโลยีทางด้านพลังงานและการจัด การพลังงานในธุรกิจอุตสาหกรรมที่เหมาะสมในยุคดิจิทัล เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ของประเทศแบบสมดุลและยั่งยืนตามมาตรฐานสากล
3) เพื่อส่งเสริมงานวิจัยและบริการวิชาการทางด้านเทคโนโลยีพลังงานและการจัดการพลังงานให้แก่ ชุมชน และธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่แถบชายฝั่งภาคตะวันออก
4) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณของวิชาชีพ มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมทางด้านพลังงาน
5. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ที่ผ่านการเรียนรายวิชาทางคณิตศาสตร์- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมกันไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต หรือ
2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชา ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม เครื่องกล ยานยนต์ กลโรงงาน ซ่อมบำรุง ช่างอุตสาหกรรม หรือสาขาวิชาที่เทียบเท่ากันได้หรือ
3) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชา ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม เครื่องมือวัดและควบคุม เทคนิคพลังงาน เทคนิคอุตสาหกรรม เทคนิคการผลิต เครื่องกล ยานยนต์ ช่างอุตสาหกรรม หรือสาขาวิชาที่เทียบเท่ากันได้
4) มีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าด้วย การศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต
6. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) นักวิชาการ/นักวิทยาศาสตร์ ด้านพลังงานและการจัดการพลังงาน
2) ผู้ช่วยนักวิจัย นักวิจัย และนักพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ
3) นักวิเคราะห์ระบบและตรวจสอบงานพลังงานในภาคอุตสาหกรรม
4) ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในอาคารควบคุม
5) ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในโรงงานควบคุม
6) ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและกระบวนการทางอุตสาหกรรม
7) ประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับพลังงานและการจัดการพลังงาน
7. แนวทางการศึกษาต่อ
นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจะมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ในสาขาที่เกี่ยวข้องในสถาบันต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
8. ค่าธรรมเนียม
- ค่าบำรุงการศึกษาหลักสูตรภาคปกติ เหมาจ่ายต่อภาคการศึกษา จำนวน 19,000 บาท
- ค่าบำรุงการศึกษาหลักสูตรภาคสมบทพิเศษ เหมาจ่ายต่อภาคการศึกษา จำนวน29,000 บาท
- ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ (แรกเข้า) จำนวน 1,000 บาท
- ค่าประกันทรัพย์สินเสียหาย (แรกเข้า) จำนวน 1,000 บาท
- ค่าทำบัตรนักศึกษาใหม่ (แรกเข้า) จำนวน 200 บาท
- ค่าปฐมนิเทศและอบรมจริยธรรมนักศึกษาใหม่ (แรกข้า) จำนวน 500 บาท
- ค่าประกันอุบัติเหตุ (ปีละ) จำนวน 250 บาท
รวมค่าใช้จ่ายหลักสูตรโครงการปกติ ตลอดหลักสูตร จำนวน 154,950 บาท
9. สถานที่จัดการเรียนการสอน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง
10. วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน – เดือนกันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์
ภาคการศึกษาฤดูร้อน เดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม
11. โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงานและการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล เปิดสอนทั้งโครงการปกติและโครงการสหกิจศึกษา โดยทั้ง 2 โครงการ มีจำนวนหน่วยกิตทั้งหมด 137 หน่วยกิต ใช้ระยะเวลาเรียน 4 ปี